เต้านมแม่หลังคลอด – เรื่องของเต้าและนม
ตั้งท้องสำหรับบางคนอาจเป็นเรื่องง่ายดาย ท้องได้ท้องดี แต่สำหรับบางคนอาจจะเป็นความหวังที่กว่าจะสำเร็จต้องผ่าฟันด้วยความอดทนและมุ่งมั่น แต่เมื่อเราได้ดังหมาย ก้าวต่อไปก็เป็นเรื่องของการคลอดและการที่จะได้ใช้น้ำนมตัวเองเลี้ยงลูกให้เติบโตแข็งแรงและเป็นคนดี วันนี้เรามารู้จักเต้านมของเราให้ดีขึ้นอีกสักหน่อยเพื่อเราจะได้ใช้งานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ ด้วยความที่แม่ตั้งท้อง เต้านมก็จะเริ่มมีการเปลี่ยนแปลงจึงต้องการให้ข้อมูลคุณแม่ว่า...
กำเนิดของเต้านม
• พัฒนาการของเต้านมช่วงชีวิตในมดลูกหลังการปฏิสนธิสัก 4 สัปดาห์เป็นต้นไป เราจึงมีเต้านมด้วยกันทั้งหญิงและชาย เราจึงมีจำนวนต่อมน้ำนมและท่อน้ำนมเท่ากันเพราะมันถูกพัฒนามาในช่วงนี้รวมทั้งการเกิดหัวนมบอดด้วยเช่นกัน
• พัฒนาการของเต้านมช่วงแรกเกิดถึงสองปีแรกจะเป็นแบบค่อยเป็นค่อยไปในช่วงสองปีนี้จะมีแต่ในระยะแรกเกิดที่ยังได้รับฮอร์โมนคุณแม่ผ่านมาทางสายสะดือเมื่อครั้งยังอยู่ในมดลูกอาจทำให้เห็นเต้านมคัดตั้งเต้าบ้างก็มีน้ำนมไหลออกมาตั้งแต่อ้อนแต่ออกสิ่งเหล่านี้เกิดได้เสมอและไม่ได้เกี่ยวข้องกับปริมาณน้ำนมที่จะสมารถผลิตได้เมื่อโตเป็นสาว การเติบโตของเต้านมหลังจากสองปีจะไม่ค่อยมีอะไรมากนักจนกระทั่งเข้าสู่ระยะวัยรุ่นหรือย่างเข้าสู่วัยเจริญพันธุ์
• พัฒนาการของเต้านมช่วงวัยเจริญพันธุ์จะเป็นการทำงานของฮอร์โมนเพศที่จะทำหน้าที่แตกต่างกันทั้งชายและหญิงลักษณะของเต้านมจึงเริ่มแสดงความแตกต่างทางเพศมากขึ้นตามวัตถุประสงค์ของการใช้งาน เต้านมเพศชายจะหยุดการพัฒนาในขณะที่เต้านมผู้หญิงจะถูกขยายขนาดของต่อมน้ำนมและมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น ขนาดของเต้านมและไขมันที่สะสมอยู่ใต้ผิวหนังไม่มีผลต่อความสามารถในการสร้างน้ำนมแต่อาจจะบอกถึงความจุในการเก็บน้ำนม การแสดงออกของเต้านมในช่วงที่มีประจำเดือนเช่นการคัดตึง การเจ็บ ก็เป็นการบอกถึงการเติบโตของเต้านมที่มีมากขึ้นตามลำดับและจะพัฒนาไปจนถึงระยะสุดท้ายของการตั้งท้อง
- เมื่อตั้งท้อง อานุภาพของการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนของการตั้งท้องจะเริ่มต้นการทำงานด้วยกันของแม่และลูกตลอดไปจนกว่าลูกจะดูแลตนเองได้และไม่ต้องพึ่งพาจากแม่ โดยช่วยเตรียมพร้อมเต้านมไปพร้อมกับการเติบโตของลูกอันนี้อาจเป็นคำตอบสำหรับความผูกพันของแม่และลูกที่เข้มแข็งและยืนยาว และอาจตอบคำถามว่าเมื่อไหร่การหย่านมจึงจะเริ่มขึ้น
การเปลี่ยนแปลงที่คุณแม่จะสังเกตได้ตั้งแต่เริ่มตั้งท้องใน 3 เดือนแรกก็คือ ขนาดของหัวนมและลานนมที่จะขยายขึ้นและมีสีเข้มขึ้น เต้านมตึงขึ้นและขยายขนาดขึ้น ในขณะที่มีการพองฟูและขยายของต่อมผลิตน้ำนมอยู่ภายในเต้านม ความรู้สึกไวต่อสัมผัสของเต้านมเป็นอาการแรกที่คุณแม่มักรู้สึกในช่วงนี้
บริเวณลานนมจะมีต่อมน้ำมันที่เห็นเป็นตุ่มๆเหมือนสิว ขนาดขยายขึ้นเพื่อขับน้ำมันมาสร้างความชุ่มชื้นและช่วยให้ลานนมนุ่มและยืดหยุ่นช่วงให้ลูกดูดกินได้ง่ายชึ้น น้ำนมจะเริ่มผลิตในช่วงสัปดาห์ที่ 16 ของการตั้งครรภ์ และบางรายอาจมีหัวน้ำนม Colostrums ซึมออกมาให้เห็นในช่วงก่อนคลอด ระยะนี้เป็นระยะที่ 1 ของการผลิตน้ำนมของคุณแม่ค่ะ
- ก่อนคลอด
- ลักษณะเต้านมเห็นเส้นเลือดมาเลี้ยงมากขึ้น ลานนมจะยืดหยุ่นมากขึ้น หัวนมชี้ชันมากขึ้น บางคนมีขนาดขยายขึ้น ความเปลี่ยนแปลงอื่นๆ เช่น สีผิวบริเวณข้อพับต่างๆ มักมีสีเข้มขึ้น อาจพบติ่งเนื้อเล็กๆ หรือบางรายสิวขึ้น บางรายผิวแห้ง เส้นลายของความเป็นแม่มักปรากฏในช่วงนี้ใกล้คลอดนี้ที่หลายคนพบว่าหน้าท้อง ต้นขาแตกลาย และหลายคนก็อาจลุกลามมาถึงบริเวณเต้านมได้ บางรายพบว่าเต้านมจะไวต่อความรู้สึกอีกครั้ง ความรู้สึกเต้านมขยายและคัดตึงเต้านมจะมาเตือนสติให้รู้ว่าใกล้เวลาแล้วนะ
ความสงสัยเรื่องความสามารถในการให้นมด้วยตนเองมักมีมากขึ้นในช่วงตั้งครรภ์ 4-6 เดือน เนื่องจากพ้นระยะแพ้ท้องและสามรถปรับตัวได้ดีขึ้นแล้ว ดังนั้นอย่าลังเลที่จะเข้าสัมมนา อบรมกับกลุ่มคุณแม่ด้วยกันเองหรือกับการอบรมที่มีตามโรงพยาบาลเพื่อฝึกการอุ้มและหาคำตอบตรงนี้นะคะ
- วิธีการดูแลเต้านมแม่ก่อนคลอด ไม่มีการดูแลที่พิเศษเพียงการรักษาความสะอาดโดยการอาบน้ำตามปกติก็เพียงพอแล้ว คุณแม่ไม่ควรครีมทาบริเวณหัวนมเพราะจะไปอุดท่อน้ำมันหล่อลื่นบนเต้านม และไม่ควรขัดถูหรือดึงไขมันที่ติดที่หัวนมเพราะจะทำให้เกิดแผลได้ ไม่มีอะไรที่ดีไปกว่าสิ่งที่มีอยู่ตามธรรมชาติแล้วค่ะ แต่ถ้าคุณแม่พบว่าหัวนมบอดอาจเป็นช่วงเวลาที่ดีที่จะแก้ไขโดยการนวดดึงหัวนมซึ่งสามารถไปขอคำปรึกษาได้ตามคลินิกนมแม่หรือที่โรงพยาบาลที่คุณแม่ฝากท้องอยู่นะคะ คุณแม่สามารถตรวจง่ายๆด้วยตัวเองโดยการใช้นิ้วโป้งกับนิ้วชี้จับหัวนมถ้าสามารถจับได้แสดงว่าปกติไม่ต้องทำอะไร แต่บอกเพื่อลดกังวลไว้ก่อนว่าเปอร์เซ็นต์ที่จะมีหัวนมบอดมีน้อยมากค่ะ อย่ากังวลไปเลย
- หลังคลอด
- ลักษณะเต้านมแม่หลังคลอด
หลังคลอดใหม่ๆ การคัดตึงเต้านมคงยังไม่มีละอาจไม่มีให้เห็นเลยถ้าน้ำนมถูกระบายบ่อยพอแสดงว่าการผลิตน้ำนมพอเพียงและเพียงพอกับความต้องการของลูก การคัดตึงอาจเริ่มมีบ้างในราววันที่ 4 เป็นต้นไป อาการมักพบในช่วงสัปดาห์ที่ 2 ซึ่งบอกได้ว่าเต้านมต้องการระบายน้ำนมออกมากขึ้น ควรให้ลูกกืนนมบ่อยขึ้น
หลังจาก 3 เดือนแรกผ่านไป ปริมาณของฮอร์โมนโปรแล็คติน จะค่อยๆ เริ่มลดต่ำลงกลับสู่ระดับปกติของการผลิตน้ำนม คุณแม่จะไม่รู้สึกว่าหน้าอกคัดตึงเหมือนช่วงแรก น้ำนมที่เคยไหลซึมก็น้อยลง หรือหายไปเลย ไม่รู้สึกว่าน้ำนมไหลพุ่ง ไม่รู้สึกถึงกลไกการหลั่งน้ำนม (Let down reflex) และปริมาณน้ำนมที่ปั๊มได้ก็อาจจะลดลง ความเปลี่ยนแปลงเหล่านี้เป็น เรื่องปกติ ไม่ได้หมายความว่า ปริมาณการผลิตน้ำนมของคุณลดลงแต่อย่างใด
- วิธีการดูแลเต้านมแม่หลังคลอด
1. อาบน้ำทำความสะอาดตามปกติ ซับให้แห้งเสมอ ไม่จำเป็นต้องดูแลเป็นพิเศษ
2. หลีกเลี่ยงการใช้ครีมทาหัวนมเพราะจะไปอุดอันต่อมน้ำมันที่ลานนม และต้องเช็ดออกก่อนให้ลูกกินนมจากเต้าทำให้หัวนมและลานนมแห้งมากขึ้น
3. หลีกเลี่ยงการขัด ถูที่หัวนม รวมถึง กำจัดไขมันบนหัวนมเพราะอาจนำไปสู่การเป็นแผล
4. สวมยกทรงที่มีขนาดพอดีเพื่อประคองเต้านมถ้ามีเต้านมใหญ่และหนัก ถ้าเต้านมมีขนาดเล็กอาจไม่จำเป็นต้องสวมยกทรงเพราะบางคนรู้สึกสะดวกที่ไม่ต้องสวมยกทรง
5. ถ้ามีน้ำนมหยดไหล การใช้แผ่นซับน้ำนมที่ซักได้จะระบายลมได้ดีกว่า ทำความสะอาดง่ายกว่าและยังเป็นการรักษาสิ่งแวดล้อมแบบฉบับของแม่ยุคใหม่อย่างเราๆด้วยค่ะ
- ลักษณะน้ำนมแม่หลังคลอดเป็นอย่างไร
หัวน้ำนม – Colostrum น้ำนมแรกที่มีลักษณะข้น มีสีเหลืองปนส้มของวิตามินเอ ใน 2-3 วันแรกคลอด น้ำนมที่มีคุณภาพเยี่ยมในการเสริมสร้างสมองและสายตา อาหารที่ดีที่สุดสำหรับทารก เปี่ยมด้วยภูมิคุ้มกันพร้อมใช้ อาหารและน้ำย่อยที่มีความจำเป็นสำหรับทารก หัวน้ำนมนี้จะมีฤทธิ์กระตุ้นการทำงานของลำไส้เพื่อช่วยขับถ่ายขี้เทาออกเป็นการป้องกันแก้ไขอาการตัวเหลืองที่อาจเกิดขึ้น น้ำนมในวันแรกจะมีเพียงไม่มากนักแต่ก็เพียงพอสำหรับทารกตัวเล็กที่กินทีละน้อยและบ่อยครั้ง ถ้าวันแรกยังไม่เห็นน้ำนมก็อย่าได้เป็นกังวลเพราะคุณจะได้เห็นในอีกไม่ช้าช่วงนี้ลูกจะมีอาหารสะสมมาจากคุณแม่ แต่ก็ต้องให้ดูดนมกระตุ้นทุก 2-3 ชั่วโมงเพื่อเปิด สวิทช์ทำงานและเร่งเครื่องผลิตน้ำนม
น้ำนมใส-Transitional milk เป็นนมที่มีสีขาวขึ้นเป็นส่วนผสมของหัวน้ำนมกับนมขาว ปริมาณมากขึ้น ในระยะ 3-7 วัน หรืออาจยาวไปถึง 10 วันถ้าน้ำนมระบายออกไม่ดี ช่วงนี้บางคนเริ่มมีความรู้สึกนมตึงขึ้นระยะนี้ยังคงอาศัยระดับฮอร์โมนกระตุ้นการสร้างน้ำนมดังนั้นการกระตุ้นสม่ำเสมอจึงสำคัญมากที่ยังต้องกระตุ้นให้กินนมจากอกทุก 2-3 ชั่วโมง
น้ำนมขาว-Mature milk หลัง 7-10 วันไปแล้วน้ำนมจะขาวขึ้น มีไขมันมากขึ้น ปริมาณน้ำนมมากขึ้น และการให้ลูกกินนมจนเกรี้ยงเต้าจะช่วยให้มีการผลิตน้ำนมมากขึ้น การทำงานของฮอร์โมนจะเริ่มมีอิทธิพลต่อน้ำนมน้อยลง การทำให้นมระบายออกจนเกลี้ยงเต้าจะเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้มีน้ำนมมากขึ้น มากขึ้น และช่วงนี้เองทีมีอิทธิพลสูงมากในการผลิตน้ำนมในโกอาต่อไป เพราะเป็นการติดตั้งระบบให้คุณแม่และระบบนี้จะทำงานต่อไปจนกว่าจะเลิกให้ลูกกินนมจากเต้า
กินสม่ำเสมอ กินเกลี้ยงเต้าจะช่วยให้มีน้ำนมมากขึ้น
การมีน้ำนมคัดจะทำให้น้ำนมน้อยลง
Tip:
- วิธีการเลือกบราของแม่ใกล้คลอดและหลังคลอด
1. เลือกชนิดที่ไม่มีขอบแข็งหรือขอบเหล็กดันทรง
2. เลือกขนาดที่พอดีไม่หลวมหรือคับเกิดนไป
3. เลือกที่มีฝาเปิดให้นมที่สามารถเปิดได้กว่าที่ที่สุด
4. เลือกเป็นผ้าที่ระบายอากาศดีๆ เพราะบางทีเหงื่อออกมาก จะได้ไม่เหม็นอับ
self attatchment breastcrawl
-
baby,babywearing,breastfeeding,birth,mom,maternity,mother,infant,feeding
9 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น