นมทำไมจึงคัด
+ สาเหตุที่แม่ทำให้แม่คัดหน้าอกเกิดจากอะไร...
อาการน้ำนมคัดเป็นอาการที่บอกว่าการผลิตน้ำนมนั้นดี แต่มีการระบายออกน้อยกว่าที่ผลิต มักเกิดจากลูกนอนนานไป หรือลูกกินน้อยเกินไปจนเหลือค้างในเต้าจนเกิดอาการขึ้นมา
ถ้าปล่อยทิ้งไว้ก็จะทำให้เต้านมผลิตน้ำนมลดลงเพราะระบบอ่านค่าว่าการผลิตมากเกินไปจนเกินกำลังจะใช้ ทั้งยังต้องรอระยะเวลาให้น้ำนมที่มีในเต้าดูดซับกลับไปในระบบไหลเวียนของแม่เป็นการรีไซเคิล ถ้าปริมาณน้ำนมยังถูกกระตุ้นให้ผลิตอยู่หรือคั่งค้างอยู่นาน
เต้านมก็เหมือนส่วนอื่นๆที่อาจมีอาการบวมตึงได้เมื่อการไหลเวียนของระบบเลือดและน้ำเหลืองไม่ดี ลองนึกถึงเต้านมที่มีน้ำนมเต็มหนักอึ้ง น้ำเหลืองและเลือดจะบวมคั่งการรักษาทั่วไปก็ต้องช่วยกระตุ้นการไหลเวียนโดยการประคบร้อนหรือนวดเบาๆ แต่ถ้าเกิดการบวมจนแข็งนั่นหมายถึงการคั่งไปปิดทางระบายทั้งหลายก็ต้องทำให้การบวมนั้นลดลงประกอบกับระยะที่ว่านี้มักทำให้มีอาการเจ็บปวดเราจึงต้องใช้ความเย็นมาช่วยบรรเทาอาการบวมให้น้ำนมระบายมาได้ก่อนอาการจะค่อยๆดีขึ้น
นมคัดเกิดขึ้นเมื่อไร?
ส่วนใหญ่มักเกิดในช่วงวันที่ 7-14 หลังคลอดเพราะแรกๆน้ำนมยังค่อยๆเพิ่มการผลิตทีละน้อย ในช่วงอาทิตย์แรกๆจึงจำเป็นให้ลูกกินนมอย่างน้อย 8ครั้งต่อวันเพราะถ้าน้อยกว่านี้จะพบว่าแม่มักมีอาการคัดตึงเต้านม นมค้างในเต้า ที่สำคัญก็คือมันจะไปทำให้น้ำนมผลิตน้อยลง มีการวิจัยหลายชิ้นให้ความสำคัญกับช่วงเวลา 2 อาทิตย์แรกเป็นอย่างมากเพราะจะมีผลในระยะยาวได้ เมื่อใดที่รู้สึกว่าเต้านมหนักตึงก็ให้ลูกดูดนมระบายน้ำนมเสมอ กรณีที่คุณแม่ปั้มน้ำนมให้ลูกกินก็ต้องทำเหมือนกันคืออย่างน้อยทุก 3-4 ชั่วโมงต้องมีการระบายน้ำนมและควรปล่อยให้ระบบร่างกายแม่และลูกปรับได้ดี ก่อนการใช้เครื่องปั้ม เพราะการตอบสนองจะยึดหลัก Demand VS Supply
ข้อควรรู้เกี่ยวกับนมคัด
น้ำนมไม่ได้รับการถ่ายออกจากเต้านม เนื่องจากแม่ให้ลูกกินนมไม่บ่อยพอลูกไม่ได้กินนมจากเต้า จากการศึกษาพบว่าระยะเวลาที่ลูกดูดนมจากเต้าในวันแรกๆ ยิ่งดูดนานแม่จะมีอาการเจ็บจากเต้านมน้อยกว่าคนที่ให้ลูกดูดน้อยกว่า
. แม่มีเต้านมขนาดเล็ก ปริมาณน้ำนมที่เพิ่มขึ้นเร็วจะทำให้เกิดอาการเต็มเต้าได้เร็วกว่าแม่ที่มีเต้านมขนาดใหญ่
คุณแม่ที่เคยมีลูกมาแล้ว พบว่าในลูกคนแรกเกิดอาการคัดได้น้อยกว่าลูกคนหลังๆ
แม่ที่ถูกแยกจากลูกในวันแรกๆ หลังคลอดเพราะลูกไม่ได้มีการดูดนมเอา colostrum ระบายออกไปบ้าง ในขณะที่เต้านมมีเลือดมาเลี้ยงมากในสองสามวันแรกหลังคลอดหรือมี การเว้นช่วงการให้กินนมนานเกินไป เช่น ลูกหลับนาน หรือแม่ทำธุระอยู่ไม่สามารถให้นมหรือบีบน้ำนมออกได้เป็นเวลานานกว่า 4-5 ชั่วโมง
การอุ้มและการดูดของลูกไม่ถูกต้องทำให้ไม่สามารถขับน้ำนมออกได้เต็มที่
+ วิธีจัดการและดูแลตัวเองอย่างไร นอกจากการ ปั้มออกเพื่อลดการคั่งของน้ำนม
1. ให้ลูกกินนมให้บ่อยขึ้น โดยไม่จำกัดเวลาในการดูดนม ให้กินจนอิ่มทั้งกลางวันและกลางคืน ในเด็กเล็กเดือนแรกๆยังต้องตื่นบ่อยเพราะกระเพาะยังจุน้ำนมได้น้อยอยู่
2. การประคบร้อน จะใช้ในกรณีที่เต้านมยังคงนิ่มอยู่บ้าง ไม่บวมจนแข็งมาก อุปกรณ์ที่ใช้ประคบอาจเป็นผ้าเปียกน้ำร้อนหมาดๆ สำหรับคุณแม่ที่ไม่ชอบเปียกแฉะอาจใช้ถุงผ้าใส่เมล็ดข้าวสารหรือถั่วที่ถูกทำให้ร้อน โดยไมโครเวฟหรือการคั่วเผา บางคนอาจชอบใช้ผ้าขาวบางห่อข้าวเหนียวหุงร้อนๆ ประคบสัก 5-10 นาที ก่อนให้นมลูก น้ำอุ่นจากฝักบัวช่วยได้เช่นกัน
3. การประคบเย็น ใช้ได้ดีในการลดอาการปวดเต้านม และเป็นวิธีที่จะช่วยลดอาการบวมของเต้านมในกรณีที่บวมแข็งซึ่งมักพบว่าน้ำนมไม่ไหลเลย แม้จะบีบ นวด ปั้มก็ตาม เพราะอาการคั่งน้ำในเต้านมควรใช้ผ้าเย็นจัดหรือ Icepack วางประคบประมาณ 15-20นาทีทำบ่อยๆ ในช่วงที่เต้านมแข็งและปวด อาจรับประทานยาแก้ปวดพวกพาราเซตามอลร่วมด้วย บางรายที่มีอาการคัดตึงมากการใช้ยาลดบวม เช่น Danzen ได้ หรืออาจจะใช้กะหล่ำปลีแช่เย็นวางประคบเต้านมซึ่งมีการศึกษาพบว่าสามารถช่วยลดความเจ็บปวดเต้านมและลดอาการบวมของเต้านมได้ดี ส่วนแพทย์แผนไทยเค้าใช้ใบพลูวางบนเต้านมหมั่นเปลี่ยนบ่อยๆค่ะ
4. การบีบน้ำนมด้วยมือเบาๆเพื่อให้ลานนมนุ่มลง เพื่อให้ลูกดูดได้ดีขึ้นบางท่านอาจใช้ปทุมแก้วหรือสวม breast shells พลาสติกหนาที่มีรูเปิดสำหรับหัวนมและมีแผ่นซิลิโคนคอยนวดที่ลานนมครอบบนเต้านมเพื่อนวดลานนมให้นิ่มและกระตุ้นกลไกน้ำนมพุ่ง สัก 30 นาทีก่อนให้นมหรืออาจจะใส่ไว้เรื่อยๆ ก็ได้เพราะน้ำนมจะสามารถไหลออกมาได้ตลอดเวลาเพื่อลดอาการคั่งในเต้านม แต่ห้ามบีบน้ำนมหรือปั๊มออกจนหมดเต้ายกเว้นลูกไม่สามารถดูดนมจากเต้า
จึงจะปั๊มออกทุก 3 ชั่วโมง เพื่อบรรเทาอาการน้ำนมคั่งลง
5. สวมยกทรงที่เหมาะสม หลีกเลี่ยงการสวมเสื้อยกทรงที่มีขอบลวดหรือคับแน่นเกินไป เพื่อประคองเต้า การใช้ผ้าพันหรือตะเบ็งมานก็ใช้ได้เช่นกัน
นมเต็มเต้า นมคัด เต้านมอักเสบ ต่างกันอย่างไร
นมเต็มเต้า นมคัด เต้านมอักเสบ
นมเต็มเต้า อาจเกิดในวันที่ 4-7 หลังคลอดหรือเกิดตลอดการให้นม เต้านมจะตึงๆ หนักๆ ขนาดขยายขึ้น ผิวเต้านมอาจอุ่นๆบ้าง แต่ไม่มีไข้ อาการทุกอย่างจะหายไปเมื่อน้ำนมระบายออกไปได้
นมคัด ระยะเวลาที่เกิดจะเป็นหลังวันที่ 7 ไปแล้ว อาจมีอาการเต้านมแข็ง บางครั้งน้ำนมไม่ไหล
ออกมาเวลาปั๊มหรือบีบ บางครั้งหลังจากลูกดูดนมไปสักพักจะดึงหัวนมและน้ำนมไหลพุ่ง
อาจมีอาการร้อนของเต้านม บางครั้งมีอาการ เหมือนเป็นไข้
เต้านมอักเสบ จะมีอาการปวด บวม แดง ร้อน อาการเหมือนเป็นไข้หรือมีไข้สูง เต้านมบางส่วนอาจนิ่มและคลำได้ก้อนน้ำนมเป็นจุดๆตรงบริเวณที่บวมแดง ถ้ามีแผลที่หัวนมก็จะแสดงอาการอักเสบต้องระมัดระวังเพราะอาจนำไปสู่การเป็นฝีได้
Reference:
• Cox, S. 2004. Breastfeeding with confidence. Finch. Sydney
• Brodribb,W.2006 (edited by) 3rd edition Breastfeeding Management: Australian Breastfeeding Association. Ligare Pty Ltd Riverwood NSW Australia.
• Utah Department of Health. 2004. Breastfeeding Module. Utah USA
• Lawrence. R. A, Lawrence R.M. 1999. Breastfeeding a Guide for the Medical Profession. Mosby. Sydney
• Oddy,W, Breastfeeding protects against illness and infection in infants and children: a review of the evidence, Breastfeeding Review, vol.9, no.2, 2001, pp.: 11-18.
• Walker.M. 2002. Core Curriculum for lactation Consultant Practice. International Lactation Consultant Association, ILCA. Jones and Bartlett. Boston
• WHO,UNICEF.2006.BFHI Revised Edition.
self attatchment breastcrawl
-
baby,babywearing,breastfeeding,birth,mom,maternity,mother,infant,feeding
8 ปีที่ผ่านมา
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น